skip to main | skip to sidebar

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กำเนิด ประวัติ premier league พรีเมียลีก






เอฟเอพรีเมียร์ลีกเอฟเอพรีเมียร์ลีก (FA Premier League) หรือนิยมเรียกว่า พรีเมียร์ลีก (Premier League) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกในระดับสูงสุดของประเทศอ ังกฤษ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือมีชื่อตามผู้สนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นทางการว ่า บาร์เคลส์ พรีเมียร์ชิพ เนื่องจากในปัจจุบัน สนับสนุนโดย บริษัทการเงินบาร์เคลส์

การแข่งขันพรีเมียร์ลีก เป็นที่รวมของ 20 สโมสรฟุตบอลในระดับสูงสุดของอังกฤษเข้าด้วยกัน โดยปัจจุบัน มีเพียง 4 ทีมเท่านั้น ที่เคยชนะเลิศในการแข่งขันรายการนี้ ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, อาร์เซนอล, แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส และ เชลซี

ประวัติ
แต่เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากรูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศ น์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชัน หนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสู งสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป


ปัญหาเริ่มต้น
ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าเรื่องของสนามกีฬาที่มีปัญหา เหตุการณ์อันธพาลลูกหนัง หรือที่เรียกว่าฮูลิแกน ทำลายภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ ไฟไหม้อัฒจันทร์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2528 ที่สนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลแบรดฟอร์ดซิตี ในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์วันที่ 15 เมษายน 2532 ที่สนามฟุตบอลฮิลส์เบอโรของสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์เวนส์ เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิตกว่า 96 คน นอกจากนี้โศกนาฏกรรมเฮย์เซลที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแ ข่งขันชิง ถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี อันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบ หลังจากการแข่งขันจะเกะกะระราน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวา ยบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยโศกนาฎกรรมเฮย์เซล์ส่วนหนึ่งมาจากคนกลุ่มนี้เช่นก ัน

หลายเหตุการณ์ทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได ้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะโดนลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถ านีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี ้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย

ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์เบอโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องท ี่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่า รายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั ้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้ งหมด ห้ามไม่ให้มีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมกา รแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลข องคนอังกฤษมานาน บางแห่งก็มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัตจันทร์ เดอะค็อป ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลต้องจบไป ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและ สมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชั่นหนึ่งหรือดิวิชั่นสองยังคงมี อัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้ งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลง อย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีป ิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นก ัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้

รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรม เนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคี สมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมส รละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการ ณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชั่นหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงิ นให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้
credit:DK_RA

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น